วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต


ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจกับคำว่าอินเตอร์เน็ตก่อน “อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกันนั่นเองค่ะ ส่วนคำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace
การกำเนิดของอินเทอร์เน็ตทำให้การสื่อสารในยุคปัจจุบันเป็นการสื่อสารไร้พรมแดน(Globalization) สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ(reach) ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ ในปัจจุบันถือว่าอินเทอร์เน็ตเป็น “สื่อใหม่”(new media) ที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนที่เป็น

“สื่อดั้งเดิม” (traditional media) ยกตัวอย่างเช่นหนังสือพิมพ์ที่เคยให้บริการในรูปแบบของกระดาษ ปัจจุบันต้องยกเนื้อหาของตนเองขึ้นบน cyber space เป็นสื่อออนไลน์ (online media)
นอกจากจะให้บริการข้อมูลในรูปแบบของตัวหนังสือและภาพแล้ว ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ออนไลน์หลายฉบับยังให้บริการในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว (video clip) และข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นย้อนหลังได้อีกด้วย
ทางด้านสื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ที่จัดว่าเป็นสื่อประเภท Broadcast ก็ได้กระโดดเข้าสู่การเป็นสื่อออนไลน์ โดยผู้เข้าชมสามารถชมและฟังรายการได้แบบสดๆ (เรียกว่า Real Time) และมีการจัดการให้บริการข้อมูลที่ผู้เข้าชมสามารถรับฟังและชมได้แบบย้อนหลังโดยมีการจัดเนื้อหาไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ เช่น ข่าว สาระความรู้ บันเทิง โทรทัศน์หลายช่องจัดการให้บริการแบบ “ตามสั่ง” (On demand) ที่ผู้ใช้บริการสามารถเลือกชมรายการที่ตนเองต้องการได้ตามใจชอบ โดยไม่ต้องรอชมตามตารางออกอากาศอีกต่อไป เช่นการให้บริการของช่องเคเบิลทีวีที่ผู้ใช้บริการสามารถเลือกชมภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ได้ตามใจชอบ หรือชมการแข่งขับฟุตบอลย้อนหลังได้
นอกจากจะมีการให้บริการแบบไม่คิดค่าใช้จ่าย สื่อมวลชนหลายแขนงได้เริ่มจำหน่ายเนื้อหาโดยให้ผู้ใช้บริการสามารถ download เน้อหาได้ในรูปแบบของ digital download ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์และเพลง




อ้างอิงจากสมุดบันทึกวิชาการการสื่อสารมวลชนเบื้องต้น 1/2551
วันใหม่

ไม่มีความคิดเห็น: